รับทำบัญชี.COM | ตีราคาสินค้าคงเหลือโดยอัตรากำไรขั้นต่ำ?

Click to rate this post!
[Total: 51 Average: 5]

ถ้าต้องไปตรวจนับสินค้าคงเหลือจริงอาจจะต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

หากกิจการต้องการทราบมูลค่าสินค้าคงเหลือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าต้องไปตรวจนับสินค้าคงเหลือจริงอาจจะต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น วิธีการหนึ่งในการคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือคือการใช้วิธีอัตรากำไรขั้นต้น จะทำให้ได้ มูลค่าสินค้าคงเหลือในราคาทุนโดยประมาณ การตีราคาสินค้าคงเหลือโดยใช้อัตรากำไรขั้นต้นจะเหมาะสมในกรณีต่อไปนี้

เมื่อต้องการทราบราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันใดวันหนึ่ง เพื่อจัดทำงบการเงินระหว่างกาล
เมื่อต้องการประมาณราคาสินค้าที่ถูกทำลาย เช่น สินค้าถูกไฟไหม้ หรือสินค้าเกิดความเสียหายจากน้ำท่วม เป็นต้น
เมื่อต้องการประมาณราคาสินค้าขึ้นมาใหม่เนื่องจากเอกสารหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับราคาทุนไม่สมบูรณ์
เมื่อผู้สอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายในต้องการสอบราคาสินค้าคงเหลือที่คำนวณได้ตามวิธีอื่นว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจการต้องการตั้งราคาขาย จะนำ กำไร+ราคาทุน = ราคาขาย เช่น กิจการต้องการกำไร 20% จากราคาทุน ดังนั้น ถ้าทุน 100 บาท แสดงว่าจะต้องขาย เท่ากับ 20+ 100 = 120 บาท

การกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นสามารถกำหนดได้ 2 วิธี คือ
1. การกำหนดอัตรากำไรขั้นต่ำ เป็นร้อยละของยอดขาย หมายความว่า ถ้านำอัตรากำไรขั้นต้นไปหักจากยอดขายก็จะได้ราคาทุนของสินค้า เช่น กิจการแห่งหนึ่งกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นไว้ 60% จากราคาขาย ดังนี้ ถ้าราคาขาย คือ 100 บาท แสดงว่าราคาทุนของสินค้าจะเท่ากับ 100 – 60 = 40 บาท หรืออีกนัยหนึ่งถ้าขาย 100% จะมีทุนเท่ากับ 40% นั่นเอง
2. การกำหนดอัตรากำไรขั้นต้น เป็นร้อยละของราคาทุน หมายความว่า กิจการกำหนดราคาขายโดยนำกำไรไปบวกด้วยราคาทุน เช่น กำหนดอัตรากำไรขั้นต้นเป็น 40% ของราคาทุน หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท กิจการจะตั้งราคาขายเท่ากับ 140 บาท

การตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม ก็เป็นงานที่มีความสำคัญ

            ณ วันสิ้นงวดการประเมินราคาสินค้าคงเหลือ หรือการตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม ก็เป็นงานที่มีความสำคัญ และจำเป็นอันหนึ่ง ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ในการปฏิบัติงานของนักบัญชีต้นทุน คือ การค้นหาเกณฑ์หรือวิธีการต่างๆ มาใช้ในการตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม เพื่อจะได้แสดงราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้อย่างถูกต้อง และใกล้เคียงกับความจำเป็นจริงมากที่สุด หากโรงงานหรือกิจการได้ทำการสะสมต้นทุนร่วมที่เกิดขึ้นในการผลิตไว้ตลอดทั้งปี และได้ทำการ ปันส่วนต้นทุนร่วมให้แก่ผลิตภัณฑ์ร่วมตามเกณฑ์ หรือวิธีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วในวันสิ้นปี การตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม ก็ควรใช้ต้นทุนต่อหน่วยนั้นๆ คูณกับจำนวนหน่วยคงเหลือที่ได้จากการตรวจนับ ณ วันสิ้นปีนั้นๆ แต่หากกิจการได้มีการปันส่วนต้นทุนร่วมให้กับผลิตภัณฑ์ในทุกๆ งวดการผลิต เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ร่วมในแต่ละงวด ก็จะไม่เท่ากัน คือ มีต้นทุนต่อหน่วยหลายตัว ซึ่งในประเด็นนี้ การตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วมในวันสิ้นปี ก็อาจเลือกใช้วิธีการตีราคาแบบ เข้าก่อน-ออกก่อน (First-in, First-out) หรือแบบเข้าหลังออกก่อน(Last-in, Last-out) เป็นต้น

วิธีการตีราคาสินค้าเพื่อกำหนดราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด

หลักการตีราคาสินค้าคงเหลือ (Inventory Valuation) การตีราคาสินค้าคงเหลือ วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ จรัญ ตันมา (2548 : 127) กล่าวถึงวิธีการตีราคาสินค้าเพื่อกำหนดราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด มี 3 วิธีคือ

1. การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน (Cost Method)
2. การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือตลาดแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า (The Lower of Cost of Market Inventory Method)
3.การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีการประมาณราคา (Estimated Inventory Method) ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 เรื่องสินค้าคงเหลือ โดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2546 มีดังนี้ “สินค้าคงเหลือควรตีตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า” สรุป การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดมีการตีราคาหลายวิธี โดยเลือกวิธีที่เหมาะสมกับกิจการ การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีแตกต่างกันจะทำให้ราคาแตกต่างกันไปด้วย ทำให้มีผลกระทบต่อการคำนวณต้นทุนขาย กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิของกิจการ รวมทั้งมีผลทำให้แสดงรายการในงบการเงินด้วยมูลค่าที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานการบัญชีได้เปิดโอกาสให้กิจการเลือกปฏิบัติได้ อาจคำนวณด้วยวิธีใดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของธุรกิจของตน การตีราคา

ถ้าต้องไปตรวจนับสินค้าคงเหลือจริงอาจจะต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )